สหกรณ์โคนมหนองโพ ราชบุรี

เมื่อประมาณปี พ.ศ.2511 เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดราชบุรี ซึ่งดำเนินการเลี้ยงโคนมมาก่อนหน้านี้แล้ว ได้ประสบปัญหาใหญ่เกี่ยวกับสถานที่จำหน่ายน้ำนมดิบที่รีดได้จากแม่โค ทำให้เกิดความเสียหายแก่น้ำนมและประสบภาวะการณ์ขาดทุนในการประกอบอาชีพ กลุ่มผู้นำเกษตรกรทั้งชาวตำบลหนองโพและเขตใกล้เคียงจึงได้มีการติดต่อหารือ กับนายจรูญ วัฒนากร ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรีในขณะนั้น เพื่อให้หาทางช่วยเหลือ

ซึ่งนายจรูญ วัฒนากร ได้ทำการติดต่อกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ช่วยรับซื้อน้ำนมดิบจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในเขตจังหวัดราชบุรีและ ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ยินดีรับซื้อ แต่มีปัญหาว่าน้ำนมดิบนั้นจะต้องผ่านการทำความเย็นเพื่อรักษาคุณภาพในขณะขน ส่ง

ดังนั้นเกษตรกรโคนมผู้เลี้ยงจึงรวมกลุ่มกันจัดตั้งศูนย์รวมน้ำนมขึ้น โดยมีนายจรูญ วัฒนากรเป็นประธานคณะกรรมการศูนย์ และได้รับการสนับสนุนด้านเงินงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี จำนวน 40,000 บาท รวมกับงบประมาณเพิ่มเติมจากจากส่วนกลางจำนวนอีก 30,000 บาท เป็นทุนในการก่อสร้างอาคารศูนย์รวมน้ำนม พร้อมติดตั้งเครื่องทำความเย็นเปิดดำเนินการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรผู้ เลี้ยงโคนมเป็นสมาชิกของศูนย์ รวบรวมจัดส่งให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2513

ต่อมา แม้ว่าการดำเนินการของศูนย์รวมน้ำนมจะได้ผลดี แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้กว้างขวางประกอบกับเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ น้ำนมดิบที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต กลุ่มผู้เลี้ยงโคนมที่ก่อตั้งศูนย์รวมน้ำนมจึงเริ่มมีการเคลื่อนไหวที่จะจัด ตั้งกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมขึ้นที่ตำบลหนองโพ โดยตอนต้นปี พ.ศ.2514 นายมนู วิริยานนท์ อธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดินในขณะนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าการจัดสหกรณ์โคนมเป็นสหกรณ์รูปแบบใหม่ยังไม่แพร่หลายใน ประเทศไทย จึงได้ออกไปประชุมเกษตรกรผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ในท้องที่ตำบลหนองโพด้วย ตนเอง ผลปรากฏว่าผู้เลี้ยงโคนมมีความเห็นชอบในวิธีการสหกรณ์โคนมเป็นเอกฉันท์ จึงได้ดำเนินการแนะนำให้เกษตรกรพิจารณากำหนดแผนการดำเนินงานของสหกรณ์ขึ้น ไว้ ต่อจากนั้นมาก็ได้มีการประชุมผู้ริเริ่มสหกรณ์หลายครั้งจนกระทั่งวันที่ 4 มีนาคม 2514 ผู้เลี้ยงโคนมได้ประชุมกันที่ศาลาการเปรียญวัดหนองโพ ตำบลหนองโพเพื่อดำเนินการก่อตั้งสหกรณ์มีผู้เข้าชื่อเป็นสมาชิกสหกรณ์ทั้ง สิ้นเมื่อแรกตั้ง185 คนได้มอบหมายให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์รวม 15 คนทำคำขอจดทะเบียนยื่นต่อนายทะเบียนสหกรณ์

ผู้จัดตั้งสหกรณ์ในครั้งนั้นได้แก่
1. นายบุญจันทร์ ป้อมสุข
2. นายเฉลียว คณานุกูล
3. นายวิบูลย์ อรุณประพันธ์
4. นายเหลือ เปลี่ยนขำ
5. นายจรูญ วัฒนากร
6. นายประเวศน์ มังคลรังสี
7. นายใช้ จันทรภิวัฒน์
8. นายวิชัย ชิดเครือ
9. นายวิเชียร หอมหวน
10.นายหยุ้น ตวงสุวรรณ
11.นายอุสาห์ สุคนธมาน
12.ส.อ.เสนาะ วงษ์สวรรค์
13.นายบุญรอด ศรีวรกุล
14.นายสำลี แพรอัตร
15.ส.ต.ท.ทวี แอตาล

     การจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2514 ใช้ชื่อว่า สหกรณ์โคนมราชบุรี จำกัดเป็นสหกรณ์ประเภทการบริการโดยสหกรณ์รับโอนทั้งสินทรัพย์และหนี้สินของ ศูนย์รวมนมมาเป็นของสหกรณ์ทั้งหมดและในวันที่ 25 ธันวาคม 2516 ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ?สหกรณ์โคนมหนองโพ ราชบุรีจำกัด? เป็นสหกรณ์ประเภทการเกษตรและใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน

     ในช่วงระยะก่อนที่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจะก่อตั้งศูนย์รวมน้ำนม และสหกรณ์ขึ้นที่ตำบลหนองโพ อำเภอโพธารามนั้น ในวันที่ 7 ธันวาคม 2512 สถานีผสมเทียมจังหวัดราชบุรี ได้นำบรรดาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเข้าเฝ้าละลองธุลีพระบาทในโอกาสที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดโรงงานนมผงสวนจิตรลดา ณ พระราชวังสวนจิตรลดา และในครั้งนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของจังหวัดราชบุรี ได้ทูลเกล้าถวายฎีกาถึงปัญหาเกี่ยวกับความเดือดร้อนที่ไม่มีตลาดจำหน่ายน้ำ นมดิบ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าหน้าที่ส่วน ที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการหาทางช่วยเหลือ

     ต่อมาในปี 2513 นายทวิช กลิ่นประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี ในขณะนั้น ได้มีความสนใจเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรที่ตำบลหนองโพและบริเวณใกล้ เคียง และเมื่อทราบถึงปัญหาของผู้เลี้ยงโคนม จึงได้ทูลเกล้าถวายเงินจำนวน 1,400,000 บาท แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อนำมาช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมดังกล่าว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงนำเงินนี้ร่วมกับทุนทรัพย์ส่วน พระองค์จำนวน 1,002,000 บาท มาก่อสร้างและจัดตั้งโรงงานนมผงขึ้น ณ ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ออกแบบ โดยใช้ต้นแบบจากโรงนมผงสวนจิตรลดา (โรงนมผงสวนดุสิต) แต่ให้มีกำลังการผลิตเป็นสองเท่าพร้อมทั้งพระราชทานชื่อ ?โรงนมผงหนองโพ? และได้เสด็จเปิดโรงงานนมผงหนองโพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2515 โดยพระองค์กำหนดให้ดำเนินการบริหารโรงงานในรูปของบริษัท จำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัดและทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

บริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัด มี ม.ล.เดช สนิทวงศ์เป็นประธานกรรมการเปิดดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยทำการรับซื้อน้ำนมเพื่อแปรรูปเป็นนมผงจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป ในวโรกาสนี้   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชปรารภในการจัดตั้งบริษัทนมผงหนองโพราชบุรี จำกัด ซึ่งโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างโรงงานนมผงหนองโพไปเพื่อการนี้แล้วมี ความสำคัญดังนี้

1. เมื่อมีการจัดตั้งสหกรณ์โคนมขึ้นที่หนองโพแล้ว ให้จัดตั้งบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจอันเป็นประโยชน์แก่สหกรณ์โคนมไม่เฉพาะแต่ในเวลาปัจจุบัน เท่านั้นให้ครอบคลุมไปถึงกาลข้างหน้าด้วย

2. บริษัทฯ นี้มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้

(1) ซื้อนมจากสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมเพื่อจำหน่ายทั้งนมสดและผลิตภัณฑ์นมชนิดต่างๆ ซึ่งแปรรูปจากนมสดแล้ว

(2) ซื้อหลักทรัพย์ที่เหมาะสมเพื่อหาผลประโยชน์

(3) กู้เงินเพื่อนำมาใช้จ่ายในกิจการของบริษัท

(4) ซื้อ ขาย เช่า หรือให้เช่าที่ดินเพื่อประโยชน์ธุรกิจของบริษัท

(5) ประกอบธุรกิจอื่นๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัท

3. ให้บริการแก่สหกรณ์โคนมที่ตำบลหนองโพ และสหกรณ์อื่นๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง และเป็นสมาชิกของชุมนุมสหกรณ์ (ถ้ามี) ตามที่บริษัทจะพิจารณาเห็นสมควร

4. โดยที่บริษัทไม่มุ่งหากำไรเป็นที่ตั้ง จึงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งกำไรไว้ดังนี้

– กำไรส่วนหนึ่ง หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายและเงินสำรองแล้วจะแบ่งให้สหกรณ์โคนมที่นำนมสด ของสมาชิกมาขายแก่โรงงานตามส่วนของปริมาณนมที่ส่ง

     – กำไรที่เหลืออยู่ บริษัทจะจ่ายเข้ากองทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อการศึกษาของลูกหลานสมาชิกที่เล่า เรียนดีมีความประพฤติเรียบร้อย สำหรับทุนการศึกษาดังกล่าวจะจัดให้ผู้รับทุนเล่าเรียนในวิชาช่าง วิชาครู วิชาพาณิชย์วิชาเกษตรกรรมและวิชาบัญชี เมื่อเรียนสำเร็จหลักสูตรอาจจะเข้าฝึกงานเพื่อให้มีประสบการณ์ในวิชาที่ได้ ศึกษามากขึ้นแล้วบริษัทจะจัดให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาเข้าทำงานที่โรงงานของ บริษัทตามกำลังคนที่ต้องการ

     5. ไม่มีการแบ่งกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นในบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัด แต่ในกรณีที่บริษัทสะสมเงินกำไรได้เป็นจำนวนมากอาจจะโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เงินสะสมส่วนหนึ่งในการขยายโครงการเพื่อความมั่นคงแห่งธุรกิจของ บริษัทก็ได้

     6. ทุนของบริษัทกำหนดไว้เป็นจำนวน 1,400,000 บาทเป็นทรัพย์สินซึ่งพระเจ้าอยู่หัว ฯ พระราชทานในการสร้างโรงงานพร้อมด้วยเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการผลิตนมทุนนี้อาจจะเพิ่มขึ้นสุดแต่ความจำเป็น  ค่าสร้างถนนในบริเวณโรงงาน ตั้งถังน้ำ และเดินสายไฟฟ้า จากสายใหญ่เข้าโรงงาน โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เงินกู้มาดำเนินการ

     7. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงถือหุ้นใหญ่

     8. เมื่อถึงเวลาอันสมควร บริษัทจะตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาและค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์อันจะเป็น ประโยชน์แก่ธุรกิจของบริษัท มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้

     (1) พระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(2) เงินจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค
(3) ดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สิน ซึ่งเป็นทุนของมูลนิธิ

     9. เมื่องานของสหกรณ์โคนมเจริญก้าวหน้าตามวัตถุประสงค์สมาชิกสหกรณ์ ต่างมีความเข้าใจในหลักสหกรณ์และดำเนินกิจการของสหกรณ์ได้ดีถูกต้องตามหลัก ของสหกรณ์ และมีหลักฐานมั่นคงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้โอนทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ ราชบุรี จำกัดพร้อมด้วยโรงงานให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์และให้สหกรณ์ดำเนินกิจการใน รูปสหกรณ์ต่อไปตามพระราชประสงค์ ในกรณีโปรดเกล้าฯให้โอนทรัพย์สินของบริษัท เป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์นั้นให้บริษัทบันทึกการโอนและทำบัญชีหลักทรัพย์ตลอด จนเงินสดที่มีอยู่ในเวลานั้นเป็นหลักฐานเพื่อให้สหกรณ์รับไปพระราชปรารภฯ ดังกล่าวนี้ยังมีความปลาบปลื้มแก่บรรดาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตำบลหนองโพ และผู้สนใจการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพเป็นอย่างยิ่งจนกระทั่งต่อมาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2518 บริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) จึงรวมเข้ากับสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน โดยดำเนินกิจการทั้งหมดในรูปสหกรณ์ใช้ชื่อว่า สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด และได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน

     ต่อมาในกลางปีพ.ศ.2517คณะกรรมการบริหารบริษัทได้พิจารณาเห็นว่าการผลิตภัณฑ์ นมด้วยเครื่องจักรในขณะนั้นไม่เหมาะสมทางเศรษฐกิจ และผลิตภัณฑ์นมที่ได้ยังไม่ถูกหลักสุขภาพและอนามัย ตลอดจนไม่ได้มาตรฐานสากล ประกอบกับการเลี้ยงโคนมในจังหวัดราชบุรีได้แพร่หลายมากขึ้น ทำให้ได้น้ำนมดิบเพิ่มมากจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรสร้างโรงงานหลังใหม่ เพื่อเตรียมรับน้ำนมดิบที่เพิ่มนั้นให้หมด โดยคณะกรรมการบริษัทมีมติให้กู้เงินจากบริษัทเงินทุนแห่งประเทศไทยจำนวน 8 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรผลิตนมใหม่ที่ได้มาตรฐาน โดยได้ให้ชื่อโรงงานหลังใหม่ว่า ?อาคารเดช สหกรณ์? เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ประธานกรรมการบริษัทคนแรกที่ได้อุทิศกำลังกายและกำลังใจให้แก่โครงการของ บริษัทอย่างเต็มกำลัง เพื่อสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระราชดำริไว้ และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2517 ขณะที่บริษัทกำลังดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรผลิตนมใหม่นั้น คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการรวมกิจการของบริษัทและสหกรณ์เข้าด้วยกันแล้ว เนื่องจากสหกรณ์ได้ดำเนินการด้วยดีเป็นปึกแผ่นมั่นคงพอสมควร ประกอบกับการก่อสร้างโรงงานหลังใหม่สมควรที่สหกรณ์จะได้รับการบริหารไปตัง แต่แรก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต

     ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทจึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมรา ชานุมัติให้โอนกิจการของบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพจำกัดให้กับสหกรณ์โคนมหนอง โพราชบุรี จำกัดและสำนักราชเลขาธิการได้ออกหนังสือที่ รล 0002/6039 ลงวันที่ 7 กันยายน 2518 แจ้งให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติ

ดังนั้น สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด จึงได้รับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพจำกัดมาดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2518 เป็นต้นมา โดยปัจจุบันสหกรณ์ใช้สถานที่เดิมของบริษัทเป็นสำนักงานและได้รับพระมหา กรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ หลังจากโรงงานผลิตภัณฑ์นมหลังใหม่สร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารโรงงานผลิตภัณฑ์นมหลังใหม่พร้อมเจิมป้ายชื่อ สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2521 ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นได้มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลเป็นจำนวนเงิน 3 แสนบาทเศษ ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานเงินทั้งหมดให้สหกรณ์นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้าน การศึกษาแก่บุตรหลานของสมาชิก และสหกรณ์นำเงินจำนวนนี้จัดตั้งเป็นมูลนิธิใช้ชื่อว่า ?มูลนิธิพระบารมีปกเกล้า? ดำเนินการจัดสรรดอกผลเป็นทุนการศึกษาให้แก่บุตรหลานสมาชิกตามพระราชประสงค์ ของพระองค์ท่านตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

Leave a comment